หลักสูตรสาขาวิชาการสอนภาษาจีนสำหรับผู้พูดภาษาอื่น

สาขาวิชาการสอนภาษาจีนสำหรับผู้พูดภาษาอื่น เป็นสาขาวิชาที่เน้นการประยุกต์ใช้และมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ โดยมีวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมบุคลากรที่มีพื้นฐานด้านภาษาจีนและภาษาอังกฤษที่มั่นคง พร้อมทั้งมีความเข้าใจที่กว้างขวางในด้านวรรณกรรม วัฒนธรรมจีน และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนกับต่างประเทศ เพื่อให้สามารถทำงานในหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โรงเรียน และองค์กรสื่อสารมวลชน 

โครงสร้างรายวิชา

1. รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีนสำหรับผู้พูดภาษาอื่น
ภาษาอังกฤษ: Master of Arts Program in Teaching Chinese to Speakers of Others Languages
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย (ชื่อเต็ม): ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนภาษาจีนสำหรับผู้พูดภาษาอื่น)
ภาษาไทย (ชื่อย่อ): ศศ.ม. (การสอนภาษาจีนสำหรับผู้พูดภาษาอื่น)
ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม): Master of Arts (Teaching Chinese to Speakers of Others Languages)
ภาษาอังกฤษ (ชื่อย่อ): M.A. (Teaching Chinese to Speakers of Others Languages)

แผน ข จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

องค์ประกอบหลักสูตร แผน ข หน่วยกิต
1. หมวดวิชาพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
2. หมวดวิชาบังคับ 18
3. หมวดวิชาเลือก 12
4. การค้นคว้าอิสระ 6
รวม 36

คณาจารย์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา

  • ครู ครูผูัช่วย อาจารย์ หรือ ผู้สอนภาษาจีน
  • นักวิชาการทางการศึกษา นักวิจัย หรือ ผู้ช่วยนักวิจัยด้านภาษาจีน
  • ผู้ประกอบการด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน
  • ผู้ออกแบบหลักสูตร และผลิตสื่อการเรียนการสอนภาษาจีน

รูปแบบการเรียนการสอน

1.1 ระบบ

   ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาค การศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษา ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์

1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

   มีภาคฤดูร้อน จำนวน 1 ภาค ภาคละ 8 สัปดาห์ (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตร)

1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

   ไม่มี

ค่าใช้จ่ายของหลักสูตร

หลักสูตร ชำระเต็ม
ระยะเวลาเรียน 2 ปี 140,000

รูปแบบการเรียนการสอน

     หลักสูตรวิชาการสอนภาษาจีนสำหรับผู้พูดภาษาอื่น ใช้การเรียนการสอนในชั้นเรียนเป็นหลัก โดยเรียนวันจันทร์-วันศุกร์